ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู (Information and Communication Technology for Teachers) ของ น.ส.พัชรีภรณ์ หอมดอก เอกการศึกษาปฐมวัยหมู่ 2

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บ้านห้วยทรายขาว จังหวัดน่าน
รายงาน
กรณีศึกษา:หมู่บ้านห้วยทรายขาว หมู่ที่ 7 ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน

เสนอ
คณะกรรมการดำเนินงานโครงการบัณฑิตคืนถิ่น รุ่น 2

จัดทำโดย
นางสาวพัชรีภรณ์   หอมดอก
สาขาวิชา การศึกษาปฐมวัย

โครงการบัณฑิตคืนถิ่น (รุ่น 2)
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง  จังหวัดราชบุรี
ประจำปี พ..2557
คำนำ
รายงานฉบับนี้เป็นของนักศึกษาโครงการบัณฑิตคืนถิ่น ที่ศึกษาในเรื่องชุมชนของตนเอง โดยมีสาระสำคัญที่จะศึกษา 4 ข้อใหญ่ๆ ดังที่จะกล่าวนี้ ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน ผักพื้นบ้านและสรรพคุณ อาหารพื้นบ้าน การละเล่นและเพลงกล่อมเด็กพื้นบ้าน ยังมีการถอดองค์ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ดิฉันภูมิใจนำเสนอข้อมูลดังที่กล่าวข้างต้นอย่างยิ่ง หวังว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ได้ศึกษา ถ้ามีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย









สารบัญ
เรื่อง                                                                                                                             หน้า
คำนำ                                                                                                                           ก
สารบัญ                                                                                                                        ข
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน                                                                                1
            1.1 ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
            1.2 ทำเลที่ตั้ง อาณาเขตติดต่อ
            1.3 สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ
            1.4 การประกอบอาชีพ
            1.5 แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
            1.6 เทศกาลงานประเพณี
            1.7 ปัจจัยและสถานการณ์ปัจจุบัน
-                   ด้านสาธารณูปโภค และด้านแหล่งน้ำ
-                   ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน
-                   ด้านสาธารณสุข
-                   ด้านการศึกษา
-                   ด้านสังคม ศาสนา และวัฒนธรรม
-                   ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

ส่วนที่2 ผักพื้นบ้านและสรรพคุณ                                                                               6
ส่วนที่3 อาหารพื้นบ้าน                                                                                               8
ส่วนที่4 การละเล่นและเพลงกล่อมเด็กพื้นบ้าน                                                            10
ส่วนที่5 ถอดองค์ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น”                                   11
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
1 ภาพข้อมูลทั่วไป
2 ภาพการทำห่หมกกบใส่ปลีกล้วย
ประวัติผู้จัดทำ









ส่วนที่ 1
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
หมู่บ้านห้วยทรายขาว มีที่มาจากการตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กับลำห้วยที่มีชื่อลำห้วยทรายขาว หมู่บ้านห้วยทรายขาวเดิมเป็นหมู่บ้านเล็กๆที่มีสมาชิก 7-8 ครัวเรือนอาศัยอยู่ ณ ริมน้ำห้วยทรายขาว ก่อนที่จะมีชาวบ้านที่อพยพมาจากบ้านหนองคำบางส่วนและอพยพมาจากบ้านโป่งตมส่วนหนึ่งแล้วยังมีชาวบ้านที่อพยพมาจากฝั่งลาวในระหว่างการทำสงครามคอมมิวนิสต์ ก็เลยมีการตั้งถิ่นฐานอยู่ในหมู่บ้านห้วยทรายขาว อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ครั้นต่อมาทางการเข้ามาจัดรูปที่ดินทำการปลูกบ้านเรือนแบ่งเขตการทำมาหากินซึ่งขณะนั้นขึ้นการปกครองของห้วยโก๋น คือ ผู้ใหญ่กิ่งและผู้ใหญ่เล็ง จนถึงปี พ..2539 ได้มีการจัดตั้งอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ขึ้นเป็นครั้งแรกจึงแยกการปกครองมาขึ้นกับการปกครองของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ปี พ..2541 บ้านห้วยทรายขาวได้แยกการปกครองจากบ้านห้วยโก๋นเป็นบ้านห้วยทรายขาว หมู่ที่ 7 ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ นายโมง   หอมดอก และมีการดำรงชีวิตกันมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน
ผู้นำหมู่บ้านและผู้นำชุมชน
ผู้ใหญ่บ้าน                   นายเพชร   หอมดอก
สมาชิกสภา อบต.        นายลี   หอมดอก
ทำเลที่ตั้ง อาณาเขตติดต่อ
          ทรายขาวหมู่ที่ 7 ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ตั้งอยู่ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโก๋น เนื้อที่ 13,750 ไร่
ทิศเหนือ                      เมืองเงิน แขวงไซยะบุลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันออก              ติดต่อตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 
ทิศใต้                           ติดต่อตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง และเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ทิศตะวันตก                ติดต่อตำบลปอน อำเภอทุ่งช้าง และเขตป่าสงวนแห่งชาติ
การคมนาคม
          ห่างจากตัวเมืองน่านไปตามถนนสายน่าน-เฉลิมพระเกียรติ (ทางหลวงหมายเลข 1080) ประมาณ 142 กิโลเมตร โดยอยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอเฉลิมพระเกียรติไปตามทางหลวงหมายเลข 1081 ไปทางอำเภอบ่อเกลือ ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ซึ่งเส้นทางจากอำเภอทุ่งช้างถึง อำเภอเฉลิมพระเกียรติไปทางที่มีความโค้งและลาดชันมาก เนื่องจากต้องผ่านภูเขาสูงชัน ใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที

สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ
ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน คิดเป็นร้อยละ 90 ของพื้นที่ทั้งหมด มีพื้นที่ราบเพียงเล็กน้อย มีแม่น้ำน่านไหลผ่านสามหมู่บ้าน ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร และทุกหมู่บ้านจะมีลำห้วยประจำหมู่บ้านทำให้มีน้ำอุปโภค บริโภคอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ส่วนสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีฝนตกตามฤดูกาล ซึ่งจากลักษณะภูมิประเทศที่มีเขาสูงทำให้ช่วงฤดูหนาวอากาศจะหนาวมาก
ภูมิอากาศ
ภูมิอากาศที่ดีและเป็นไปตามฤดูกาล ประกอบด้วย 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ดูร้อน ฤดูฝน โดยจะมีฤดูหนาวประมาณ 4 เดือน ฤดูฝนประมาณ 5 เดือน ฤดูร้อนประมาณ 3 เดือน อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายนเฉลี่ย 39 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคมเฉลี่ย 9 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนสูงสุดในช่วงเดือนกรกฎาคม เฉลี่ย 355 มิลิตเมตร ต่ำสุดในเดือนกุมภาพันธ์ เฉลี่ย 1 มิลลิเมตร จำนวนฝนตก เฉลี่ย 150 วัน/ปี ช่วงที่ฝนตกหนักที่สุดในเดือนกรกฎาคม- ตุลาคม
การประกอบอาชีพ
อาชีพหลักของชาวบ้าน ทำไร่ข้าว ไร่ข้าวโพด เก็บของป่า
อาชีพรองของชาวบ้าน  รับจ้างทั่วไป
แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
 
 น้ำตกวังเปียน
 เป็นน้ำตกที่อยู่ในเขตหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 1 (ห้วยโก๋น) บริเวณบ้านห้วยทรายขาว ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่ สายน้ำตกจะไหลลดหลั่นเกิดเป็นหินปูนที่สวยงามดูคล้ายบันได แต่ละชั้นจะสวยงามแตกต่างกันไป บริเวณธารน้ำตกเต็มไปด้วยป่าหวาย ป่ากล้วย และพรรณไม้นานาพรรณ การชมน้ำตกสามารถเดินจากบริเวณล่างสุด ฝ่ากระแสน้ำที่ตกลงมาไปตามชั้นของเส้นทางน้ำตกจนถึงชั้นบนสุด จะพบถ้ำบนยอดเขาขนาดใหญ่ ซึ่งมีน้ำไหลออกมาจากปากถ้ำดังกล่าว แล้วไหลลงสู่ชั้นต่าง ๆ ของน้ำตก จนถึงชั้นล่างสุดลงสู่แม่น้ำน่าน
สภาพบรรยากาศโดยรอบจะร่มรื่นสวยงาม เขียวขจี มีหาดทรายและแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เหมาะแก่การเล่นน้ำและพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติอย่างแท้จริง สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี โดยในฤดูฝนจะมีปริมาณน้ำมากและแม่น้ำน่านจะมีสีขุ่นแดง


ยุทธภูมิบ้านห้วยโก๋นเก่า
อนุสรณ์สถานยุทธภูมิบ้านห้วยโก๋นเก่า เดิมเคยเป็นฐานปฏิบัติการของกองพันทหารราบที่ 3 ในบริเวณฐานปฏิบัติการยังคงรักษาสภาพเดิมไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา มีสนามเพลาะ แนวกับระเบิด คลังอาวุธ จุดที่ทหารไทยเสียชีวิตในบริเวณเดียวกับยุทธภูมิยังมีฐานสู้รบเหล่าผู้กล้าฐานทหารเก่าที่บ้านห้วยโก๋น ตำบลห้วยโก๋น เป็นสมรภูมิการสู้รบในอดีต เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2518 ผกค.ได้เข้าโจมตี ทำให้ทหารในสังกัดทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ ฐานแห่งนี้ 69 นาย เสียชีวิต 17 นาย ฝ่าย ผกค. บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ฝ่ายทหารสามารถรักษาฐานปฏิบัติการแห่งนี้ไว้ได้ ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นสถานที่ท่องเที่ยว มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ของลัทธิการปกครองที่แตกต่างกัน ภายในฐานยังมีบริการบ้านพักแก่นักท่องเที่ยวติดต่อได้ที่กองพันทหารราบที่ 15 หรือ หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานจู่โจม ค่ายสุริยะพงษ์
 เทศกาลงานประเพณี
จะมีประเพณีวัฒนธรรมดังเดิมของหมู่บ้าน คือ ประเพณีไหว้ผีบรรพบุรุษ( ผีบ้าน )
จะมีอยู่ 3 ครั้ง คือ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก่อนและหลังฤดูกาลเพาะปลูก
 ปัจจัยและสถานการณ์ปัจจุบัน
            ด้านสาธารณูปโภค และด้านแหล่งน้ำ
                        ทางหมู่บ้านของเราจะมีการใช้น้ำจากต้นน้ำลำห้วยทรายขาว และน้ำฝน
ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน
การคมนาคมและการสื่อสารเส้นทางคมนาคมบ้านห้วยทรายขาว ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1080 จากจังหวัดน่าน ถึง ห้วยโก๋น ถนนลาดยาง และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1081 จากห้วยโก๋น ถึง บ่อเกลือ การคมนาคมสามารถใช้ได้ตลอดปี มีรถประจำทางปอนห้วยโก๋น วิ่งวันละ 2 เที่ยว จากอำเภอถึงหมู่บ้านใช้พาหนะส่วนตัวมามีรถประจำทาง ภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเฉลิมพระเกียรติ 3 กิโลเมตร
รายได้ของประชากร บ้านห้วยทรายขาว ประมาณ 25,600 บาท/ครัวเรือน/ปี หรือเดือนละประมาณ 2,100 บาท/ครัวเรือน
 ด้านสาธารณสุข          โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ
ด้านการศึกษา
โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว ตั้งแต่ช่วงชั้น อนุบาล ประถมศึกษาปีที่ ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้าน
โรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ ตั้งแต่ช่วงชั้นมัธยมปีที่ 1 – ปีที่ 6 ระยะทาง 2 กก.
โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว สอนในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 มีครู 6 คน
ระดับการศึกษา
จำนวน
ร้อยละ
ไม่ได้รับการศึกษา
47
29.9
ก่อนวัยเรียน
6
3.8
ประถมศึกษาปีที่ 1
1
0.6
ประถมศึกษาปีที่ 2
5
3.2
ประถมศึกษาปีที่ 3
2
1.3
ประถมศึกษาปีที่ 4
31
19.8
ประถมศึกษาปีที่ 5
1
0.6
ประถมศึกษาปีที่ 6
35
22.3
กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา
26
18.5
รวม
157
100
 ด้านสังคม ศาสนา และวัฒนธรรม
หมู่บ้านห้วยทรายขาวเป็นชุมชนชาวเขาชนเผ่าลั๊วะ นับถือผีบรรพบุรุษและนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ มีวิธีชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกัน(ตามสายเครือญาติ)และมีกฎกติกาของหมู่บ้านในเรื่องต่าง ๆ เพื่อใช้ในการปกครองคนในหมู่บ้านให้อยู่อย่างสงบและร่มเย็น
ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
มีธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีป่าไม้ แม่น้ำ สัตว์ป่า
ส่วนที่2
ผักพื้นบ้านและสรรพคุณ
ผักโขมเป็นไม้พุ่มเตี้ยและเป็นพืชล้มลุกปีเดียว สูง 30-100 ซม. ลำต้นอวบน้ำมีสีเขียวตั้งตรงแตกกิ่งก้านสาขามาก โคนมีสีแดงน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่คล้ายสามเหลี่ยมใบออกแบบสลับกว้าง 2.5-8 ซม.ยาว 3.5-12 ซม. ผิวเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ขอบใบเรียบ หลังให้เป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นดอกช่อสีม่วงปนเขียว ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยเรียงตัวอัดกันแน่น  เมล็ดมีลักษณะกลมสีน้ำตาลเกือบดำ ขนาดเล็ก
การขยายพันธุ์ผักโขม ใช้เมล็ด การปลูกผักโขมสภาพดินร่วนซุยและชุ่มชื่น
ทางอาหาร  ยอดอ่อน ใบอ่อน ต้นอ่อน นำมาต้ม,ลวกหรือนึ่งให้สุกรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกเช่น น้ำพริกปลาร้า ปลาจ่อม กะปิ ปลาทูและน้ำพริกอีกหลายชนิด หรือนึ่งพร้อมกับปลา ทำผัดผักกับเนื้อสัตว์ นำไปปรุงเป็นแกงเช่น แกงเลียง ชาวไทยอีสาน จังหวัดศรีสะเกษ บอกว่ากินใบผักโขมเป็นอาหาร เป็นยาชูกำลัง ทำให้สุขภาพดี
ทางยา  ทั้งต้น ดับพิษภายในและภายนอก แก้บิด มูกเลือด ริดสีดวงจมูก ริดสีดวงทวาร แก้ผื่นคัน แก้รำมะนาด รักษาฝี แผลพุพองใบสด รักษาแผลพุพอง ต้น แก้อาการแน่นหน้าอกและไอหอบ ราก ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ
อื่นๆสมัยกรีกโบราณ ผักโขม หรือ amaranth เป็นของศักดิ์สิทธิ์ เชื่อกันว่าผักโขมมีฤทธิ์ในการเยียวยา และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอมตะ มีการใช้ภาพของใบผักโขมในการประดับที่อยู่ของพระเจ้าและหลุมศพต่างๆ ดูจากการใช้งานทางการแพทย์ก็พอจะเห็นว่า ผักโขมเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ได้
ผักโขมมีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที โดยสารสกัดจากใบ ลำต้นและรากที่สกัดด้วยน้ำแล้วเจือจางให้ได้ความเข้มข้น 20 – 100 % ยับยั้งการงอกของเมล็ดพริกพันธุ์จินดา
ผักโขมมีโปรตีนสูงและมีกรดอะมิโนครบทุกชนิด เหมาะกับผู้ที่กินอาหารมังสวิรัติ เป็นผักใบเขียวที่มีวิตามินเอ บี 6 ซี ไรโบฟลาวิน โฟเลต และแร่ธาตุ สำคัญได้แก่ แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียมโพแทสเซียม สังกะสี ทองแดงและแมงกานีส ผักโขมเป็นผักใบเขียวที่มีปริมาณสารออกซาเลตค่อนข้างสูง ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาเรื่องนิ่ว เกาต์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ รวมถึงผู้ที่ต้องการสะสมปริมาณแคลเซียมควรจะต้องหลีกเลี่ยงการกินผักขมในปริมาณมาก  ผักโขมยังเป็นผักบำรุงน้ำนมสำหรับคุณแม่ลูกอ่อน และแม้ผักโขมจะเป็นผักใบเขียว แต่ก็มีบีตา-แคโรทีนสูง โดยมีสารลูทีนและสารเซอักแซนทิน ซึ่งเป็นสารแคโรทีนอยด์อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งสารทั้งสองนี้มีสรรพคุณช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตา ลดความเสี่ยงจากโรคดวงตาเสื่อมได้ถึงร้อยละ 43 ทั้งยังมีผลในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ และมีสารซาโปนินที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้อีกด้วย นอกจากนั้นผักโขมยังมีเส้นใยอาหารมาก จึงช่วยระบบขับถ่าย และลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้
ผักปลัง ผักปลัง มีสองสายพันธุ์ คือผักปลังขาวและผักปลังแดง ผักปลังเป็นไมเถ้าเลื้อย ลำต้นอวบกลมผักปลังขาวจะมีลำต้นสีเขียว ผักปลังแดงจะมีลำต้นสีม่วงแกมแดง ใบ เป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ใบหนา สีเขียว หากขยี้ก้านและใบ ดูจะมีเมือกสีใสๆเหนียวออกมา ผักปลังออกดอกเป็นช่อ ผักปลังขาวดอกจะเป็นสีขาว ผักปลังแดงดอกจะเป็นสีขาวแกมชมพู ผลจะออกเป็นช่อ ลักษณะกลมผลอ่อนมีสีเขียว แต่พอแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ 
ประโยชน์ทางอาหาร ยอดอ่อนและดอกอ่อน นำไปลวกหรือนึ่งรับประทานกับน้ำพริก หรือนำไปแกงใส่กับแหนม หรือใส่บวบ หรือยอดฟักทองก็ได้ 
สรรพคุณทางยา แก้พิษฝี บรรเทาอาหารอักเสบ แก้กลาก เกลื้อน ปวด คัน ท้องผูก ท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ ลดไข้ 
การเก็บรักษา ให้เก็บผักปลังใส่ถุงพลาสติก ปิดให้มิดชิด เก็บใส่กล่องปิดฝาให้สนิท เก็บเข้าตู้เย็นช่องใส่ผัก แต่ผักชนิดนี้ไม่สามรถเก็บไว้ได้นานมากอย่างมากก็ประมาณ 2-4 วัน 
ส่วนที่3
อาหารพื้นบ้าน
แกงหัวปลีใส่ซี่โครงหมู
วัตถุดิบหลักๆก็มีดังนี้
1.หัวปลี 1 หัว แกะเปลือกแข็งๆออกจนเหลือ กาบอ่อนๆ ผ่าตามยาว ออกเป็น สี่ส่วน จากสี่ส่วนแต่ละส่วนหั่นย่อยๆเป็นท่อนๆประมาณ 1 นิ้ว
2.ซี่โครงหมู 1/2 กก.
3.ใบชะพลู แล้วแต่ชอบ ฉีกแต่ละใบย่อย
4.ยอดชะอม เด็ดให้ยาวประมาณ 2 นิ้ว 1 จาน
น้ำพริกแกง ประกอบไปด้วย
1.พริกขี้หนูแห้ง 10 เม็ด
2. กระเทียมสด 5 กลีบ
3. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
4.ข่าหั่นเป็นแว่นๆ 5-6 แว่น
5.มะเขือเทศลูกใหญ่ 1 ลูก หั่นเป็นชิ้น 8 ชิ้น
6.ปลาร้าสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
เอาพริก กระเทียม ข่า เกลือ ตำให้ละเอียด พอละเอียดได้ที่ใส่ปลาร้าสับลงไปตำด้วยกัน ใส่มะเขือเทศลงไปบดกับน้ำพริกเป็นอันเสร็จ ขบวนการน้ำพริก พักไว้

วิธีแกง
เอาน้ำสะอาดใส่หม้อ 1/4 ของหม้อ ตั้งให้น้ำเดือด เอาซี่โครงหมูใส่ลงไปต้มไปจนซี่โครงหมูเปื่อย เอาน้ำพริกแกงที่ตำไว้ใส่ลงไป รอจนเดือด ใส่หัวปลีลงไป อย่าใส่ตอนน้ำไม่เดือด เพราะถ้าใส่ตอนน้ำไม่เดือดหัวปลีจะดำ ใส่ลงไปแล้วรีบคนเอาหมูจากข้างล่างขึ้นมาพยายามพลิกให้หัวปลีลงไปอยู่ข้างล่างให้จมใต้น้ำแกงเพื่อไม่ให้หัวปลีดำ พอเดือดเอาใบชะพลูที่ฉีกไว้ใส่ลงไปรอให้เดือดอีกครั้ง เอาคนอร์รสไก่ใส่ลงไปสัก ๑ ก้อน ก่อนจะยกลงเอาใบชะอมใส่ลงไป เสร็จแล้วครับ แกงหัวปลีใส่ซี่โครงหมู
ได้ทานแกงนี้สามารถช่วยเพิ่มน้ำนมแม่ให้แก่ลูกน้อยได้เป็นอย่างดี
แกงผักหวานใส่ปลาแห้ง
ส่วนประกอบ
1.            ผักหวาน 2 ตะกร้าเล็ก
2.            ปลาแห้ง 1 ตัว
3.            พริกแห้ง 7 เม็ด
4.            กระเทียมเม็ดเล็ก  5 กลีบ
5.            หอมแดง 3 หัว
6.            กะปิ 1 ช้อนชา
7.            เกลือ 1 ช้อนช้า
8.            ตะไคร้ 5 แว่น
9.            น้ำเปล่า 500 มล.
10.    น้ำปลา 1/2 ช้อนโต๊ะ
11.    ผงปรุงรส
วิธีทำ
1.            ล้างทำความสะอาดผักหวานของเราให้สะอาด
2.            แกะหอมแดง  กระเทียม  นำไปล้าง ตะไคร้ก็ล้างด้วยนะคะ
3.            นำปลาแห้งล้างและแช่น้ำรอ เพื่อให้ปลาแห้งนิ่ม
4.            ทำการตำพริกแกง ใส่ พริกแห้ง ตะไคร้ซอย 5 แว่น กระเทียม หอมแดง เกลือ ตำๆให้แหลก ตามด้วยกะปิโขลกๆตำๆตามไป
5.            นำหม้อใส่น้ำตั้งเตา รอให้น้ำเดือด ใส่พริกแกงลงไป ต้มให้เดือดประมาณ 5 นาที จากนั้นแกะปลาแห้งใส่ลงไปต้ม  เมื่อน้ำเดือดอีกรอบ ใส่ผักหวานของเราลงไป ระหว่างใส่ก็ทำการกดๆให้ตัวผักหวานจมน้ำ
6.            ปล่อยให้เดือดจนผักสุกใช้เวลาประมาณ 10 นาจึงทำการปิดเตาได้เลยจ๊ะ
ส่วนที่4
การละเล่นและเพลงกล่อมเด็กพื้นบ้าน
ซ่อนหาหรือโป้งแปะ
วิธีเล่น
จับไม้สั้นไม้ยาว เพื่อหาว่าใครจะเป็นคนหาก่อน เมื่อได้แล้วก็ปิดตา คนอื่นๆ ไปซ่อน คนปิดตาถาม "เอาหรือยัง" ถ้าผู้ซ่อนคนใด หรือหลายคนร้องว่า "ยัง" ก็ยังเปิดตาไม่ได้ รอจนกว่าผู้ซ่อนจะร้องว่า "เอาละ" จึงเปิดตาได้และค้นหาผู้ซ่อน เมื่อหาพบต้องส่งเสียงดังๆ เพื่อให้รู้ว่าพบใครคนหนึ่งแล้ว ผู้ซ่อนทั้งหลายก็ออกมาจากที่ซ่อน ถ้าเล่นโป้งแปะ และร้องว่า "แปะ" ก่อน ผู้นั้นต้องเป็นต่อไป ผู้เล่นจะต้องซ่อนคนเดียว ที่เดียวกันจะซ่อนมากกว่า ๑ คนไม่ได้
สามล้อ (ลาหล่อ) การเล่นสามล้อถึงแม้เป็นการละเล่นที่หาต้นกำเนิดไม่ได้ แต่เป็นการละเล่นที่เด็กอาข่า นิยมเล่นกันมาก โดยเมื่อต้องการทำสามล้อก็จะไปหาตัดท่อนไม้ที่มีขนาดใหญ่พอสมควร มา 3 ล้อ จากนั้นก็ตัดไม้มามัด หรือตอกให้แน่น โดยข้างหน้าจะมีเพียงล้อเดียว และข้างหลังมี 2 ล้อ ทุกอย่างพร้อมแล้วก็สามารถนำมาเล่นได้เลย ส่วนในเรื่องของความเร็ว เด็กๆ จะใช้เปลือกไม้ชนิดหนึ่ง นำเปลือกไม้มาแล้วทุบ หรือตำให้ละเอียดแล้วทาบริเวณล้อ เพราะเปลือกไม้ชนิดนี้จะเหนียว และลื่น ซึ่งจะทำให้สามล้อวิ่งได้เร็ว อีกทั้งยังเอาเปลือกไม้เหล่านี้มาดองเก็บไว้ในขวดพลาสติก เพื่อเอาไว้ใช้ในคราวต่อๆ ไป อีกทั้งเด็กอาข่าชอบไปกัดเปลือกไม้แล้วเคี้ยวๆ ให้ละเอียด จากนั้นเอามาแปะที่ล้อ การเล่นสามล้อ (ลาหล่อ) เป็นการละเล่นที่ค่อนข้างอันตรายเหมือนกัน ถ้าเด็กทำ หรือประดิษฐ์สิ่งของไม่แน่น และอาจทำให้เกิดอันตรายได้
ไม้โกงกาง (หม่อหน่อ) เป็นของเล่นที่ค่อนข้างหวาดเสียวสำหรับบุคคลที่ยังไม่เคยเล่น เพราะจะต้องจัดทรงให้ได้ก่อน และก็สูงอีกด้วย สำหรับไม้โกงกางของอาข่ามีความเป็นมา ดังนี้
นานมาแล้วชาวอาข่าได้อาศัยอยู่ด้วยกันกับไทยลื้อ ซึ่งอาข่ากับไทยลื้อไม่ค่อยถูกกันเท่าไหร่นัก ไทยลื้อก็ได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ขึ้น ก็มียิงธนู วิ่ง ฯลฯ แต่ว่าอาข่าก็พ่ายให้กับไทยลื้อเกือบทุกชนิด ต่อมาอาข่าได้รวมตัวกัน พร้อมประชุมปรึกษาหารือกันว่าทำอย่างไรถึงจะเอาชนะไทยลื้อได้ จึงได้คิดทำไม้โกงกางขึ้น เพื่อจะเอาชนะไทยลื้อ โดยอาข่าแบ่งทีมสำหรับจะเล่นโกงกางขึ้น พร้อมทำการฝึกฝนอย่างหนักโดยตัดไม้โกงกาง มาให้สูงที่สุดเท่าที่จะสูงได้ 
ส่วนที่5
ถอดองค์ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คณะกรรมการดำเนินงานโครงการบัณฑิตคืนถิ่น รุ่น ได้มอบหมายให้นักศึกษาแสวงหาความรู้ ในช่วงระหว่างการปิดเทอม ในหัวข้อ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักศึกษาเอง ดิฉันได้ศึกษาและได้ความรู้ ดังนี้ ประวัติการตั้งหมู่บ้านห้วยทรายขาว ผู้นำ สภาพแวดล้อม อาชีพของชาวบ้าน แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น ในเรื่องของบ้านเกิดนั้น ดิฉันได้เข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับหมู่บ้านตนเองมากขึ้น ผักพื้นบ้าน สรรพคุณของผักพื้นบ้าน
น้าพรได้นำกบตัวอ้วน ๆ จากบ้านที่เลี้ยงไว้  เอามาให้แม่เรา แล้วบอกว่า อยากกินหมกกบ  แม่ ในฐานะที่เป็นพี่สาวที่ดี  จึงได้ตระเตรียมเครื่องปรุงสารพัดสารพัน   ไว้สำหรับทำอาหารให้น้องสาว  เราพลอยได้ลาภปากไปด้วย  แต่ครั้นจะนั่งรอกินเฉย ๆ มันก็เป็นเรื่องน่าอายนัก  จึงอาสาช่วยเป็นลุกมือ ทำให้ได้รู้จักสูตรในการทำกับอาหารขึ้นมาอีกนั่นคือ  ห่อหมกหัวปลีใส่กบ   
                     ปลีกล้วย

กบ

      เครื่องปรุงห่อหมก


  
มะพร้าว

วิธีการทำห่อหมกปลีกล้วย  ถือได้ว่ายุ่งยากมากที่เดียว  กว่าจะทำเสร็จ  เพียงแต่เป็นลุกมือเราก็รู้สึกเหนื่อย  กว่าจะขูดมะพร้าว ตำเครื่องแกงเสร็จ  ไหนจะต้องมาห่อแล้วตั้งไฟ  ใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมง  แต่หลังจากได้ชิมอาหารอันโอชะ คือ ห่อหมกหัวปลีใส่กบแล้ว  อาการเหนื่อยก็หายเป็นปลิดทิ้ง  อร่อยอย่าบอกใคร อันนี้เป็นสูตรแบบบ้าน ๆ ไม่ใช่สูตรแบบอาหารภัตตาคาร  แต่ถูกปากชาวบ้าน  
สูตรอาหารห่อหมกหัวปลีใส่กบมีเครื่องปรุงคือ
·                     กบที่ลอกหนังแล้วหั่นเป็นท่อนเล็ก ๆ
·                     ไข่ไก่ 2 ฟอง
·                     ปลีกล้วยน้ำว้า หรือกล้วยตานี ขนาดใหญ่ 1 หัว
·                     พริกแห้ง หรือพริกชี้ฟ้าสด 12 เม็ด
·                     ต้นหอมสด 5 ต้น
·                     หอมหัวแดง 3 หัว
·                     เกลือ 1 /2 ช้อนชา
·                     ตะไคร้ 1 ต้น
·                     ขมิ้น  1 หัว
·                     กระชาย 1 หัว
·                     ปลาทูหอม 2 ตัว
·                     ผักอีตู่ (ใบแมงลัก) 10 ยอด
·                     น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
·                     กะทิ 2 ถ้วยตวง
·                     ใบตองสำหรับห่อและไม้กลัด  หรืออาจจะใช้ใบยอสำหรับห่อก็ได้



                ปลาทูหอม
   
 โขลกเครื่องปรุงเข้าด้วยกัน


คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันแล้วปรุงรส


วิธีการทำห่อหมกหัวปลีใส่กบ 
·                     ลอกหนังกบออก ล้างทำความสะอาด  หั่นพองาม
·                     แกะหัวปลีจนถึงชั้นสีขาว ตัดขั้วทิ้งแล้วสับ-ซอย คล้ายเส้นมะละกอทำส้มตำ
·                     ล้างปลาทูหอม แกะขี้ออกให้หมด สับให้ละเอียด
·                     โขลกพริกแห้ง-หอมหัวแดง-เกลือ ให้ละเอียด ใส่ขมิ้น กระชาย ปลาทูหอมสับละเอียด
นำกบที่หั่นเป็นท่อน  หัวปลีที่สับเตรียมไว้โขลกลงเคล้าให้เข้ากัน ใส่ไข่และน้ำปลา เคล้าอีกที
·                     ตัดส่วนผสมในครกลงในหม้อ  เติมน้ำกะทิลงไป  แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน
·                     ฉีกใบตองเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม 3 แผ่นวางสลับลาย เช็ดให้สะอาด เอาตะไคร้ท่อน ใบแมงลักวางตรงกลาง ตักส่วนผสมวางทับ ,รวบใบตองทำเหมือนขนมใส่ไส้แต่ใหญ่กว่า กลัดด้วยไม้กลัด
·                     นึ่งในลังถึงจนสุกดีแล้วยกลงพร้อมเสิร์ฟ  อาจะเพิ่มใบนางลักแต่งหน้า เพื่อเพิ่มความหอมอร่อยได้อีกทาง











ประวัติผู้จัดทำ
ชื่อ   ชื่อสกุล                นางสาวพัชรีภรณ์   หอมดอก
วันเดือนปีเกิด                          9 กรกฎาคม 2535
สถานที่เกิด                  โรงพยาบาลทุ่งช้าง
สถานที่อยู่ปัจจุบัน       97 .7 .ห้วยทรายขาว ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน 55130
ตำแหน่งหน้าที่            นักศึกษา สาขาการศึกษาปฐมวัย
สถานที่ศึกษา                          มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง  จ.ราชบุรี 70150
ประวัติการศึกษา
2549                ประถมศึกษา
จากโรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว
2555                มัธยมศึกษาตอนปลาย
จากโรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ








บรรณานุกรม
นักปราชญ์ชาวบ้านห้วยทรายขาว
http://www.doa.go.th/pvp/index.php?option=com_content&view=article&id

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น